วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง
ภูมิปัญญาแห่งล้านนา

"อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง" หรือ "ไร่แม่ฟ้าหลวง" ตั้งอยู่เลขที่ 313 หมู่ 7 บ้านป่างิ้ว ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 053-716-605 โทรสาร 053-712-429 mfl@doitung.org  www.maefahluang.org  พิกัดทางเข้า : N19.90771 E99.79600 สถานที่แห่งนี้อาจทำให้ท่านสับสนกับ "สวนแม่ฟ้าหลวง" ที่ตั้งอยูที่ พระตำหนักดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง นะครับ ขอเรียนว่าเป็นคนและแห่งกันครับ

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง เริ่มต้นจากที่ดินหัวไร่ปลายนาธรรมดาผื่นหนึ่งในย่านชานเมืองจังหวัดเชียงราย แต่ด้วยพระบารมีของแม่ฟ้าหลวงและความร่วมมือร่วมใจของบุคคลต่าง ๆ หลายหน่วยหลายฝ่ายเพื่อตอบแทนพระเมตตากรุณาของพระองค์ท่าน สถานที่แห่งนี้จึงได้รับการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของภาคเหนือ และได้รับรางวัล Thailand Tourism Award 2006 ประเภทรางวัลดีเด่นด้านแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวัฒนธรรม

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง เป็นสถานที่สงบ สวย สง่างาม ภูมิทัศน์ชอุ่มเขียวด้วยสนามหญ้าและสระน้ำใหญ่ ร่มรื่นด้วยต้นไม้จากภาคต่าง ๆ ของประเทศ และต้นลีลาวดีขนาดใหญ่นับร้อย กลางอุทยานเป็นที่ประดิษฐานพระรูปปูนปั้นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประทับบนโขดหินให้ผู้มาเยือนได้สักการะ มีอาคารหลากหลายในแบบสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงาม เป็นที่เก็บรักษางานพุทธศิลป์เก่าแก่ โบราณวัตถุอายุนับศตวรรษ ศิลปะวัตถุสร้างสรรค์จากไม้สัก บรรยากาศในอุทยานรื่นรมย์ สร้างความสดชื่น เจริญใจ

หอคำ
สถาปัตยกรรมล้านนาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัดปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รูปทรงอาคารสอบเข้าตามลักษณะเรือนล้านนาโบราณ หลับคาแป้นเกล็ด เป็นแผ่นไม้สักกว้างประมาณ 4 นิ้ว วางซ้อนเหลือมแทนแผ่นกระเบื้อง ลวดลายประดับได้มาจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ช่างพื้นบ้านผู้ก่อสร้างจากจังหวัดเชียงรายและแพร่ ช่างแกะสลักจากเชียงใหม่และลำพูน ไม้นานาชนิดที่ใช้ก่อสร้างมาจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) รวมกับไม้จากบ้านเก่า 32 หลัง ในจังหวัดเชียงราย ชาวเชียงรายร่วมใจสร้างหอคำแห่งนี้ถวายเป็นเครื่องไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เจริญพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อปี พ.ศ.2527 (ค.ศ.1984)

ภายในหอคำแม่ฟ้าหลวง ประดิษฐานพระพร้าโต้ บนแท่นซึ่งเปรียบเสมือนยอดเขาพระสุเมรุ หอคำยังเป็นที่รวมศิลปะวัตถุงานพุทธศิลป์ มีทั้งพระพุทธรูปแบบล้านนา พม่า และเครื่องไม้แกะสลักที่ใช้ในการพระศาสนา เช่น สัตภัณฑ์ (เชิงเทียนไม้ประดับลวดลาย) ตุงกระด้าง (ตุงหรือธงไม้แกะสลัก) ขันดอก (ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ) บรรยากาศภายในหอคำแม่ฟ้าหลวง ขรึม ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยแสงเทียนและความงดงามของศิลปะวัตถุอันล้ำค่า

หอคำน้อย
อาคารศิลาแลงหลังคาแป้นเกล็ดไม้สัก เก็บรักษาภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนสีฝุ่นบนกระดานไม้สัก จากวัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงรัชการที่ 5 ช่างเขียนเป็นชาวไทลื้อจากเชียงตุง แสดงความเป็นอยู่ พิธีกรรม การแต่งกาย และวัฒนธรรมล้านนาเมื่อร้อยปีก่อน เช่น การแอ่วสาว การคลอดลูก ประเพณีการแข่งเรือ เป็นภาพยุคใกล้เคียงกับจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ซึ่งเขียนสีบนผนังปูน ภาพเขียนสีฝุ่นบนพื้นไม้สักในหอคำน้อย จิตรกรรมโบราณเป็นสมบัติล้ำค่า ที่หลงเหลืออยู่เป็นส่วนน้อยได้นำมาเก็บรักษาไว้ ณ อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง

หอแก้ว
เป็นอาคารจัดแสดงนิทัศการถาวรเกี่ยวกับไม้สัก และนิทรรศการชั่วคราวอื่น ๆ ที่หมุนเวียนกันไป นิทรรศการเกี่ยวกับไม้สักแสดงให้เห็นถึงความผูกพันอันแนบแน่นของชาวเหนือที่มีต่อไม้สักในหลายมิติ เป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงงานศิลปะอันวิจิตรต่างๆ ที่นำมาใช้ในการพระศาสนา เริ่มจากตัวอาคารของวัดวาอาราม เครื่องตกแต่ง และเครื่องใช้ในพิธีกรรมต่างๆ จึงถึงองค์พระพุทธรูป

ศาลาแก้ว
ศาลาริมน้ำทรงล้านนา เป็นอาคารอเนกประสงค์ที่โอบล้อมด้วยน้ำ ฟ้า และธรรมชาติเขียวชอุ่มสบายตา

ขอขอบคุณที่ติดตามชมครับ
นายทัศนาจร ออนไลน์

ทางเข้าไร่แม่ฟ้าหลวง

หอคำระยะไกล

หอแก้ว

หอแก้ว

โครงหลังคาพระอุโบสถ

โครงหลังคาพระอุโบสถ

สมเด็จย่า แม่ฟ้าหลวง

นิทรรศนาการไม้สัก

ความรู้เรื่องวงปีของไม้สัก

ศิลปะจากไม้

งานศิลปะ

รถม้าที่ทำจากไม้สัก

เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้

ศิลปะไม้แกะสลัก

ตั้งแสดงให้ชมได้อย่างใกล้ชิด

ของเครื่องใช้ไม้ในห้องนอน

พระเจ้าไม้

พระพุทธรูปไทยใหญ่

ช่อฟ้า

นิทรรศการภาพถ่าย ที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

หอคำด้านหลัง

สัตภัณฑ์

ศาลาริมน้ำหน้าหอคำ

หอคำ

ทางขึ้นหอคำ (ด้านในห้ามถ่ายภาพ)

คำขอขมา