วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เต่าทะเล หมู่เกาะสิมิลัน


22 เมษายน 2551


เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ได้กำเนิดขึ้นในโลกมากกว่า 200 ล้านปี โดยได้ปรับตัวเองให้อาศัยอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีบรรพบุรุษเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพวกแรกในวงศ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยได้ทั้งบนบกและในน้ำ ปัจจุบันเต่า มีอยู่ประมาณ 210 ชนิด จากจำนวนสัตว์เลื้อยคลานทั้งสิ้น 6,000 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลมีอยู่เพียงสองชนิด คือ เต่าทะเล และงูทะเล

เต่าทะเลปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 ตระกูล พวกแรกคือ ตระกูล DERMOCHELYIDAE ซึ่งมีเต่ามะเฟือง (leatherbaok : Dermochelys coriacea) เหลืออยู่เพียงชนิดเดียว อีกตระกูลที่เหลือ คือ CHELONINI คือ เต่าตนุ (Green turtle : Chelonia myfa) เต่าหลังแบน (flatbaok turtle : Chelonia depressa) เต่ากระ (Hawksbill : Eretmochelya imbricata) ในตระกูลนี้ ยังแบ่งออกเป็นตระกูลย่อยเรียกว่า CARETTINI อีก 3 ชนิด คือ เต่าหัวฆ้อน (loggerhead turtle : Caretta caretta) เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี (Olive ridley : Lepidochelys olivacea) และ Kemp's ridley turtle (Lepidochelys kempi) รวมทั้งสิ้นเป็น 7 ชนิด แต่นักวิทยาศาสตร์ได้แยกเต่าตะนุออกมาเป็นอีกชนิด คือ East Pacific Green turtle (Chelonia agassisi) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ปัจจุบันในโลกนี้มีเต่าทะเลเหลืออยู่เพียง 8 ชนิดเท่านั้น ส่วนในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์พบเต่าทะเลเพียง 4 ชนิด เท่านั้น คือ เต่ามะเฟือง เต่าตะนุ เต่ากระ และเต่าหญ้า

ชนิดของเต่าทะเลในประเทศไทย
1.เต่ามะเฟือง (LEATHERBACK SEA TURTLE) ชื่อวิทยาศาสตร์ Dermochelys coriacea มีกระดองนุ่มเหมือนหนัง ขนาด 150-180 เซนติเมตร (60-70 นิ้ว) น้ำหนัก 300 ถึง 600 กิโลกรัม (700-1,300 ปอนด์) บนกระดองมีสันแนว 5 เส้น ที่แตกต่างจาก เต่าทะเลชนิดอื่น คือ ว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไกลนับพันกิโลเมตร มีจุดสีขาวหรือสีน้ำตาลบนกระดองสีดำหรือน้ำตาลเข้ม พายหน้าไม่มีเล็บ อาหารส่วนใหญ่เป็นพวกแมงกระพรุนหรือสาหร่าย การที่มีกระดูกหน้าอกยาวทำให้ดักแมงกระพรุนเพื่อจับเป็นอาหารได้ง่าย แหล่งที่พบมากคือบริเวณหาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และหาดไม้ขาวจังหวัดภูเก็ต

2.เต่าตะนุ (GREEN SEA TURTLE) ชื่อวิทยาศาสตร์ Chelonia mydas เมื่อโตเต็มที่วัดกระดองได้ 90-100 เซนติเมตร (35-43 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 110-180 กิโลเมตร (250-400 ปอนด์) บริเวณพายมีเล็กแหลม กระดองเป็นเกล็ดเรียงกันมีสีน้ำตาลโอลีพหรือสีดำ ส่วนใต้ท้องกระดองมีสีเหลืองหรือสีครีมอ่อน เต่าตะนุเป็นเต่าทะเลกระดองแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สด กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะพวกสาหร่าย หรือหญ้าทะเล

3.เต่ากระหรือกระ (HAWKSBILL SEA TURTLE) ชื่อวิทยาศาสตร์ Eretmocheiys imbricata กระดองเมื่อโตเต็มที่วัดได้ 70-90 เซนติเมตร (28-36 นิ้ว) มีน้ำหนักประมาณ 35-65 กิโลเมตร (80-140 ปอนด์) ลักษณะพิเศษ คือ ปากมีจะงอยเหมือนปากเหยี่ยว มีเล็บที่พายคู่หน้า 4 อัน และมีเกล็ดคู่หน้าสองคู่ เกล็ดซ้อนทับกันมีสีเหลือง น้ำตาล และดำอย่างสวยงาม อาหารเป็นพวกสาหร่าย หญ้าทะเล เพรียง และปลา ที่ชอบมากคือฟองน้ำทะเลและหอยเม่น พบมากบริเวณแนวปะการัง

4.เต้าหญ้าหรือเต่าสังกะสี (OLIVE RIDLEY SEA TURTLE) ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepidochelys loiyacea มีขนาดเล็กที่สุด อาศัยตามบริเวณชายฝั่งทะเล เมื่อโตเต็มที่กระดองมีขนาดประมาณ 60-70 เซนติเมตร (23-26 นิ้ว) น้ำหนัก 35-40 กิโลกรัม (80-90 ปอนด์) กระดองสีน้ำตาลโอลิพ เรียงกันคล้ายสังกะสี ส่วนท้องสีเลืองออกขาว อาหารกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง ปลา แมงกระพรุน ปู หอย สาหร่าย และหญ้าทะเล

การอนุรักษ์เต่าทะเลนั้น ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีบุคคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมและเข้าใจอย่างถ้วนถี่ในเรื่องของชีววิทยาและนิเวศวิทยา ของเต่าทะเล ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลหลายโครงการที่ดำเนินการด้วยความตั้งใจดี แต่ยังขาดความรู้ที่ถูกต้อง จนทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี จากการที่ปริมาณของเต่าทะเลได้ลดน้อยลงจนถึงจุดวิกฤต โดยเฉพาะเต่ามะเฟืองซึ่งไม่สามารถที่จะนำมาเลี้ยงได้ มีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย เนื่องจากหาดที่ขึ้นมาว่างไข่ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ บริเวณที่พบมากในอดีตคือที่หาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต และหาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา แต่ปัจจุบันนี้ปรากฏว่า หาดไม้ขาวได้มีการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เช่น ท่าอากาศยาน การเพาะเลี้ยง ลูกกุ้ง เป็นต้น จนสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติไม่หลงเหลือ ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้อง และองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าทะเล ไม่เพียงแต่บริเวณหาดทรายที่เต่าทะเลตัวเมียขึ้นมาวางไข่เท่านั้น ที่ควรจะได้รับการพิทักษ์ปกป้อง แต่จะต้องดูแล รักษา ระบบนิเวศทั้งระบบ ทั้งนี้เพราะเต่าทะเลใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในท้องทะเลเปิดนอกชายฝั่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งมลพิษและอันตรายอื่น ๆ อันเป็นสาเหตุให้เต่าทะเลลดจำนวนลงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์


พิกัดศูนย์บริการ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน  (เกาะเมี่ยง-เกาะสี่) : N8.57070 E97.63705
รวบรวมโดย สุเทพ บุญประคอง  >>>คลิก<<<

ขอบคุณที่ติดตามชมครับ
ทัศนาจร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น